วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ครั้งที่ 9 > เทคนิคการนำเสนอ

ลักษณะการนำเสนอและคุณสมบัติของผู้นำเสนอที่ดี หลังจากการกำหนดจุดมุ่งหมายการนำเสนออย่างชัดเจนและวิเคราะห์ผู้รับการนำเสนอแล้วจะต้องเลือกรูปแบบการนำเสนอให้เหมาะสม มีการรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาสนับสนุนการนำเสนอด้วยการนำมาเขียนคำกล่าวนำและเนื้อเรื่อง ตลอดจนคำสรุป รวมทั้งจะต้องจัดเตรียมการใช้โสตทัศนอุปกรณ์ตามความเหมาะสม

ในการนำเสนอผลงานผลงานให้ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์นั้นอาจแบ่งได้เป็น 3 ขั้นตอนดังนี้

1.เตรียมให้พร้อม

2.ซ้อมให้ดี

3.มีบุคลิกมั่นใจ

1.1 การเลือกรูปแบบการนำเสนอ เป็นการพิจารณาความเหมาะสมว่าจะให้การนำเสนอรูปแบบใดจึงจะเหมาะสม

1.2 การรวบรวมข้อมูล ผู้นำเสนอจะต้องทำความเข้าใจข้อมูลต่างๆให้แจ่มชัด

1.3 การเตรียมคำพูด กล่าวเนื้อเรื่องและคำสรุปเป็นขั้นตอนที่สำคัญ

2.1 ซ้อมพูด เมื่อทำสื่อในการนำเสนอเสร็จดังนั้นจงซ้อมจนกระทั่งสามารถควบคุมจังหวะและเวลาได้

2.2 การปรับปรุงแก้ไข เป็นส่วนที่จะละเลยไม่ได้

3.1 ลักษณะการนำเสนอที่ดี โดยทั่วไปควรมีดังต่อไปนี้

-มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน มีความต้องการที่แน่ชัด

-มีรูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสม

-เนื้อหาสาระดีน่าเชื่อถือ

-มีข้อเสนอที่ดี

3.2 คุณสมบัติของผู้นำเสนอ

ผู้นำเสนอที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่จะมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

1.มีบุคลิกดี 9

2.มีความรู้อย่างถ่องแท้ 8

3.มีความน่าเชื่อถือไว้วางใจ 8

4.มีความเชื่อมั่นในตนเอง 9

5.มีภาพลักษณ์ที่ดี 8

6.มีน้ำเสียงชัดเจน 9

7.มีจิตวิทยาโน้มน้าวใจ 8

8.มีความสามารถใช้โสตทัศนอุปกรณ์ 8

9.มีความช่างสังเกต 9

10.มีไหวพริบปฏิภาณในการตอบคำถามดี 8

วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่ 8 > สื่อไตเติ้ลรายการ

"สื่อไตเติ้ลรายการ" (Title)

ส่วนประกอบรายการ (Program components) อันได้แก่ ไตเติ้ล (Title) ตัวอย่างรายการ (Menu) อินเตอร์ลูดหรือคีย์ซีน (Interlude / Key scene) และท้ายรายการ (end credit) คุณลักษณะต่างๆที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นไตเติ้ล ได้แก่

1.รูปแบบการนำเสนอ

1.1 การใช้ชื่อรายการ มีการใช้เฉพาะชื่อรายการเท่านั้น
1.2 การใช้สัญลักษณ์ เป็นสื่อที่ใช้แทนความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
1.3 การนำเสนอบุคคล
1.4 การใช้ภาพแสดงเนื้อหา
1.5 การสร้างโครงเรื่อง

2.ลักษณะของภาพ
2.1 ชนิดภาพ
2.2 มุมมองภาพที่ปรากฏมักเป็นภาพประเภท -Simple Shot คือเป็นภาพที่มีเพียงวัตถุเท่านั้นที่เคลื่อนไหว -Developing Shot คือเป็นภาพที่ประกอบขึ้นจากการเคลื่อนไหวของเลนส์ -Complex Shot คือเป็นภาพที่ประกอบขึ้นจากการเคลื่อนไหวของเลนส์
2.3 ลำดับภาพ คือ วิธีการเรียงร้อยภาพเข้าไว้ด้วยกันเพื่อสื่อสารไปยังผู้ชม - การซ้อนภาพ - การตัดภาพ - การจางซ้อนภาพ - การกวาดภาพ

3.ทัศนสารที่ใช้สร้างเรื่อง ไตเติ้ลรายการมีการใช้องค์ประกอบพื้นฐานทางทัศนสารอันได้แก่ พื้นที่ เส้น รูปร่าง ความเข้มสี การเคลื่อนไหว และจังหวะ
3.1 พื้นที่
3.2 เส้น
3.3 รูปร่าง
3.4 สีและความเข้มสี
3.5การเคลื่อนไหวและจังหวะ


4.ตัวอักษรชื่อรายการ

ถือเป็นส่วนสำคัญที่สุดของไตเติ้ลรายการ ขนาดตัวอักษรที่นิยมใช้คือ 1 ใน 5 ถึง 1 ใน 6 ของความสูงของจอโทรทัศน์ ตัวอักษรรายการมักใช้สีพื้นเพียงสีเดียว และมีการใช้ขอบตัวอักษรชื่อรายการและความหนาของตัวอักษรชื่อ


5.ลำดับการนำเสนอ
มีโครงสร้างดังนี้ สถานี - ร่วมกับ - บริษัทผู้ผลิตรายการ/สถาบัน - ผู้สนับสนุนรายการ - เสนอ - ชื่อรายการ - ผู้ดำเนินรายการ/พิธีกร/นักแสดง - ทีมงาน
ทั้งนี้อาจมีการลดหรือเพิ่มบางโครงสร้างตามประเภทของรายการแตกต่างกันไป

6.การใช้เสียง
การใช้เสียงในไตเติ้ลรายการ เสียงที่พบในไตเติ้ลรายการมี 4 ลักษณะ คือ
-เสียงดนตรี
-คำพูดไตเติ้ลรายการ
-เพลง 3 ลักษณะ คือ เพลงแนะนำชื่อรายการ เพลงแนะนำรายการ เพลงแนะนำเนื้อหารายการ
-เสียงประกอบ จะใช้ประกอบคำพูดดนตรีหรือเพลงขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์


7.ความยาว
ส่วนใหญ่มีความยาวประมาณ 10-60 วินาที ไม่จำกัดว่าเป็นรายการขนาดสั้นหรือยาว หรือรายการประเภทใดก็แล้วแต่

8.ลีลาของไตเติ้ลรายการ

สีแดง แสดงความตื่นเต้นเร้าใจ
สีเหลือง ดูสดใส ศักดิ์ศรี
น้ำเงิน หนักแน่น จริงจัง
ฟ้า สุขสบาย โปร่งใส
เขียว สดชื่นเป็นธรรมชาติ
ม่วง มีเสน่ห์ ลึกลับ
ชมพู นุ่มนวล
สีสันหลากหลาย ตลก สดใส สนุกสนาน

วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่ 7 > Illustrator

วิธีการทำ Background.

1.เปิดหน้ากระดาษ เลือกเป็น RGB.

2.เลือกเครื่องมือ Ellipse Tool.

3.วาดลงไปที่กระดาษโดยที่กด Shift ค้างไว้เพื่อให้วงกลมคงรูปทรงเหมือนเดิม

4.เลือกเครื่องมือ Selection Tool.

5.เปลี่ยนสีรูปวงกลมเป็นสีดำ

6.เลือก > Window > Gradient > Radial Gradient 1

7.ให้สลับขั้วสีเพื่อให้สีดำอยู่ข้างใน

8.เลือก Effect > Pixelate > Color Halftone

9.ตั้งค่า Max Radius เป็น 50 Pixel นอกนั้นให้เลือกเป็น 0 กด OK

10.ปรับขนาดของวงกลมภายในโดยการเลื่อนตรง Gradient Slider.

11.เลือก Object > Expand Appearance

12.เลือก Object > Live Trace > Make and Expand

13.เลือก Object > Ungroup (2 รอบ)

14.เมื่อทำตามขั้นตอนจะสามารถเปลี่ยนสีวงกลมแต่ละวงได้ตามใจชอบ

************************

วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ครั้งที่ 6 > การสร้างสรรค์ผลงาน (Creative Works)



1.ชื่อวง : Harem Belle



2.ข้อมูล : เป็นวงดนตรีแนว Retro มีความเป็นตัวของตัวเองสูง



วันที่ 14 ก.พ.2553 เวลา 20.00-22.00 น. ณ.ลานเบียร์ตะวันนา



3.กลุ่มเป้าหมาย : วัยรุ่น อายุระหว่าง 15-22 ปี



4.Concert : คอแตกแนว Retro กระหน่ำความมันส์กับ Harem Belle



5.Mood & Tone :

1.ความดุดัน




2.ความอิสระ





3.ความลึกลับ






หลักการสร้างสื่อเพื่อการนำเสนอที่ดี

ตัวอย่างกรณีศึกษา "สื่อป้ายโฆษณาบนเว็บ" (Web Banner)
คือ รูปแบบหนึ่งของการโฆษณาบนเวิลด์ไวด์เว็บ เป็นการวางภาพโฆษณาลงไปบนหน้าเว็บแล้วทำลิงค์กลับไปยังเว็บที่โฆษณา ด้วยจุดประสงค์เพื่อดึงดูดผู้เข้าชมให้เข้าไปยังเว็บไซด์ที่โฆษณานั้นผ่านการคลิก เว็บแบนเนอร์สร้างขึ้นจากไฟล์รูปภาพทั่วไปเช่น GIF JPEG PNG หรือใช้จาวาสคริปต์เชื่อมโยงเทคโนโลยีมัลติมีเดียอย่างอื่นมาผสมผสานเพื่อนำเสนอให้โดดเด่นมากที่สุด


เนื้อหาที่ต้องการสื่อในเว็ปแบนเนอร์ก็คล้ายกับป้ายโฆษณาในชีวิตจริง คือการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าหรือคนทั่วไปทราบว่ามีสินค้าหรือบริการอะไรบ้าง


โดยขนาดแบนเนอร์ที่เป็นที่นิยมได้แก่ 728*90 Pixel : Leaderboard เป็นแบนเนอร์ขนาดนิยมขนาดใหญ่ สามารถแสดงข้อมูลของสินค้าและบริการได้มากกว่า


ตำแหน่งของแบนเนอร์ที่เหมาะสมที่สุด ได้แก่ "ด้านบนถัดลงมา" เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่เป็นจุดศูนย์รวมของการมองจอภาพทั้งหมดภายในหนึ่งหน้าเว็ปไซต์


องค์ประกอบมี 6 ชนิด ได้แก่


1.พาดหัว


2.ข้อความโฆษณา


3.ภาพประกอบ


4.สัญลักษณ์ของผู้โฆษณา


5.สี


6.การเคลื่อนไหวและการใช้เสียงประกอบ (Animated GIF , SWF Flash)


หลักการออกแบบแบนเนอร์ที่ดี ได้แก่


1.ตัวอักษร


- ขนาดที่เหมาะสม คือ พาดหัว 48 pt ข้อความ 32 pt




- รูปแบบเหมาะสม สอดคล้องกับบุคลิก (Mood & Tone)




- รูปแบบอักษรไม่ควรเกิน 2-3 แบบ




2.สัญลักษณ์


- ควรกำหนดขนาดให้เด่นหรือด้อย



3.ภาพประกอบ


- ควรใช้ภาพกราฟฟิก (ลายเส้น) ในการออกแบบมากกว่าภาพถ่าย




4.สี
- ระบุค่าสีในระบบ RGB 216 สี ( Web-safe Color Palette)




- พื้นหลังและตัวอักษรควรใช้สีตัดกันให้เด่นชัด





- จับคู่สีให้เหมาะสม (Color Combination) ไม่ควรเกิน 2-3 สี



5.การจัดวาง


- ใช้เส้นไกด์หรือตารางกริด (Gride / Grid)



- การจัดลำดับความสำคัญ (Hierarch) 1,2 และ 3




- สร้างให้เกิดเอกภาพเป็นเรื่องเดียวกัน (Unity)



ครั้งที่ 5 > Samsung Candy

วันพุธที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ครั้งที่ 4 > ภาพ 7 ประเภท

1.การอุปมาทางการเห็น สื่อความหมาย



2.การใช้ภาพเหนือจริง


3.การสร้างความผิดปกติจากของจริง




4.การรวมกันเข้าของสองสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกัน



5.การใช้มุมกล้อง แทนสายตาผู้ดู


6.การล้อเลียนเป็นการผลิตสิ่งที่ดูแปลกตา





7.ภาพที่มีขนาดไม่ปกติ

วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ครั้งที่ 3 > เทคนิคการสร้างงานนำเสนอด้วยโปรแกรมภาพ

> การแยกวัตถุออกจากฉากหลัง <

ในการตัดต่อภาพส่วนใหญ่จะต้องแยกวัตถุที่ต้องการใช้ออกมาจากฉากเดิม หรือแยกส่วนของภาพที่สนใจออกจากบริเวณอื่นๆซึ่งทำได้ 2วิธี ดังนี้

1.)แยกวัตถุด้วยวิธีสร้าง Selection ซึ่งมีวิธีการใช้งาน ดังนี้
1.สร้าง Selection ที่ต้องการด้วยเครื่องมือในกลุ่มของ Marquee,Lasso และ Magic Wand
2.กดคีย์ Ctrl ค้างไว้ แล้วคลิกลากเม้าส์ เพื่อแยกวัตถุออกจากฉากหลัง
2.)แยกวัตถุด้วยเครื่องมือ Magic Eraser เครื่องมือนี้ใช้สำหรับลบฉากหลัง โดยดูจากค่าสีของตำแหน่งที่เราคลิก และสีที่ใกล้เคียงกัน (หลักการทำงานคล้ายกับ Magic Wand) เหมาะสำหรับใช้ลบฉากหลังที่มีสีคล้ายๆกันและตัดกับตัววัตถุค่อนข้างชัดเจน โดยบริเวณที่ถูกลบนั้นจะโปร่งใส ซึ่งมีวิธีการใช้งาน ดังนี้
1.คลิกเครื่องมือ Magic Eraser บนทูลบ็อกซ์
2.ใส่ค่าต่างๆลงในออปชั่นบาร์
3.คลิกบริเวณสีที่ต้องการลบ